วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

The Barrier to be number 1

วันนี้มาย้อนดูเกร็ดประวัติศาสตร์ด้านสนุ้กเกอร์ในยุค90 ในช่วงเวลาแห่งความ
รุ่งโรจน์  และการชิงชัยกับสงครามบนผืนสักหราด   ที่พิสูจน์กันที่ความแม่นยำ
การทำเบรค  เฉือดเฉือนกันด้วยสมาธิ และหัวใจ !!!

ดิไอดอล ต๋อง ศิษย์ฉ่อย หรือ James Wattana  เจ้าของฉายา Thai Tornado
เด็กหนุ่มผู้เดินทางไกลนับหมื่นลี้ ข้ามน้ำข้ามทะเล ไปเขย่าโลกด้วยลีลาการเล่น
ที่ดุดันเป็นเอกลักษณ์   ทำเอาวงการสั่นสะเทือนเพราะความที่เป็นคนผิวเหลืองผมดำเพียงคนเดียวในห้วงเวลานั้น

เพียงระยะเวลา 4-5 ปีเท่านั้น ที่ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย  ประสบความสำเร็จสูงสุดที่ทำไว้คือ การขึ้นไปอยู่เป็นมือวางอันดับ 3
ของโลกอย่างเป็นทางการ   และผลงาน
การคว้าแชมป์รายการสะสมคะแนน 3
ครั้ง  การทำ Maximum Break 147  ใน
การแข่งขัน 3 ครั้ง   และในยุค90 .. ต๋อง
ศิษย์ฉ่อย  ยังทำเงินติดอันดับท็อป8 ของโลก ที่ทำเงินรางวัลสะสมมากเกินกว่า 1 ล้านปอนด์

ความเก่งกาจสามารถที่ต๋องมี  พรสวรรค์
และพรแสวงจากการฟิตซ้อมอย่างหนัก
ทำให้พัฒนามาตราฐานการเล่น จนมีฝีมืออยู่ในระดับแนวหน้าของโลก ... แต่
บทสรุปสุดท้าย   ต๋องกลับทำได้แค่เพียง
มือวางอันดับสามเท่านั้น   ต๋องดีไม่พอที่
จะก้าวไปเป็นมือวางอันดับหนึ่ง หรือคว้า
แชมป์โลกรายการใหญ่ที่ Crucible

The Barrier to be number 1 ... คำจั่วหัวเรื่องที่แปลเป็นไทยว่า "อุปสรรคที่กั้น
การเป็นที่1 " ... 

ต้องยอมรับโดยดุษฎีว่า  เสมือนว่าความ
สามารถความเก่งกาจของต๋อง ศิษย์ฉ่อย
มีไม่น้อย ... แต่มีไม่พอ ..  หรือเรียกว่า
ต๋องเกิดผิดยุค ...เพราะในยุค 90 ที่เหนือ
กว่าต๋อง  เห็นจะมี 2 คน นั่นคือ Steve Davis  และ Stephen Hendry  ...

แต่การพบกันระหว่าง ต๋อง ศิษย์ฉ่อย กับ
Steve Davis  มีการแพ้ชนะกันค่อนข้าง
สูสี ใกล้เคียงกัน ...   แต่ Steve Davis
โชคดีกว่าเพราะในยุค80  บรรดาผู้เล่นในสมัยนั้น  มีอาวุธไม่หนักไม่ครบเครื่อง
เหมือนในยุคถัดๆ มา  ทำให้ผลงานของ
Davis มากมายทีเดียวจากแชมป์รายการ
สะสมคะแนน 28 ครั้ง และไม่สะสมคะแนนอีก 52 ครั้ง ต่อท้ายด้วยตำแหน่ง
แชมป์โลก 6 สมัย (1981,1983,1984,19
87,1988,1989) ครั้งสุดท้ายคือปีแรกที่
ต๋อง ศิษย์ฉ่อย เทริน์เป็นมืออาชีพครั้งแรก ....

อุปสรรคหนักหนา หรือกระดูกชิ้นใหญ่
สำหรับ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย ที่แท้จริงนั่นก็คือ
Stephen Hendry  เจ้าของฉายา มัจจุราชผมทอง ...   มาดูประวัติและผลงานเคร่าๆ ของ Hendry  กันหน่อย..

สตีเฟน กอร์ดอน เฮนดรี (อังกฤษ: Stephen Gordon Hendry, MBE) เกิดเมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1969 ใน
เซาธ์ควีนส์แฟร์รี เอดินบะระ เป็นอดีตนักสนุกเกอร์อาชีพชาวสกอตแลนด์ ในปี 1990 เขาเป็นผู้ชนะการแข่งขันสนุกเกอร์เวิลด์สนุกเกอร์แชมเปียนชิป ที่อายุน้อยที่สุดที่มีมา เมื่อเขาอายุได้ 21 ปี เขายังติดอันดับ 1 ในการจัดอันดับนักสนุกเกอร์ เป็นเวลา 8 ปีซ้อน ระหว่างปี 1990 และ 1998 รวมถึงอันดับ 1 ในปี 2006-07 เขาสร้างสถิติสามารถทำเซนจูรีเบรกในการแข่งขันได้ถึงกว่า 700 ครั้งอีกด้วย  ฉายาของเขาก็มี The Golden Boy,The Ice Man และอีกฉายา
The King of the Crucible  ปีที่เริ่มเล่นอาชีพ 1985–2012 อันดับสูงสุด 1 (9 ปี)
เงินรางวัลที่ได้มา  8,637,360 ปอนด์
เบรกสูงสุด 147 (11 ครั้ง) จำนวนเซนจูรีเบรก 775 ครั้ง  การแข่งขันที่ประสบความสำเร็จ รายการสะสมคะแนนที่ชนะ
36 ครั้ง. รายการไม่สะสมคะแนนที่ชนะ
38  เวิลด์แชมเปียน  1990, 1992, 1993, 1994, 1995, 1996, 1999 (7 สมัย)...

พอดูผลงานของ มือ 1 และ 2 ในยุค 90
ที่ต๋อง ศิษย์ฉ่อย  ขึ้นเป็นมือวางอันดับ3
ต้องยอมรับเลยว่า   ผลงานของต๋องทำไว้คิดเป็นค่าเฉลี่ยหากเปรียบเทียบกับ
2 ตำนานสนุ้กเกอร์อย่าง Davis และ
Hendry  คงได้ราวๆ 10 เปอร์เซนต์เท่านั้น ...  ที่ผ่านมาต๋องเคยให้สัมภาษณ์
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งต๋องก็ยินดีและยอมรับ
กับผลงานที่ตนเองทำได้   และก็ดีใจที่
เกิดมาในยุคของสุดยอดนักกีฬาที่เก่งที่สุดจริงๆ 2 คน  เพราะผลงานที่เห็นกันอยู่
มันบ่งบอกถึงขีดความสามารถที่สุดยอด
ในยุค90  อยู่แล้ว

มีหลายครั้งที่ผู้คนหยิบยก ประเด็นร้อน
ชอตลูกเหลืองที่ Hendry  แทงฟาวล์แต่
ไม่มีสปีริต  ในการแข่งชิงแชมป์โลก ซึ่ง
ตอนนั้นค่อนข้างมีผลต่อการแพ้-ชนะ และจัดอันดับโลก    ถ้า Hendry ยอมรับ
ว่าตนเองฟาวล์  ต๋องอาจจะพลิกเกมส์มาชนะเขี่ย Hendry  ตกรอบ และไปคว้าแชมป์โลกแทนก็ได้  และอาจจะขึ้นเป็นมือหนึ่งของโลกในปีนั้นอีกด้วย

ต๋อง ศิษย์ฉ่อย พูดถึงกรณีนี้หลังจากได้
ชมเทปการแข่งขันย้อนหลัง ... ซึ่งต๋องมี
ความเห็นส่วนตัวว่า  .. เชื่อในสปีริตของ
นักสนุ้กเกอร์อาชีพระดับโลกว่าทุกคนมี
สปีริตเรื่องแบบนี้เต็มร้อยแน่นอน  จากที่
สัมผัสมายาวนาน  แต่ชอตที่ Hendry  ทำฟาวล์  คิดว่าเขาไม่น่าจะรู้ตัว เพราะเป็นชอตต่อเนื่อง  และเกมส์ตอนนั้นค่อน
ข้างเบียดสูสี  ความตื่นเต้น ความกดดัน
ความตั้งใจ หลายๆ อย่าง ..เพราะสุดท้าย
คนที่รู้ดีที่สุดน่าจะเป็นตัวของ Hendry
เอง ...   ซึ่งผ่านเกมส์วันนั้นแล้ว แม้ว่าจะได้ชมเทปย้อนหลังในช่วงนั้น  ทั้งต๋องและกองเชียร์ที่เดินทางไปเชียร์กันถึงที่
Crucible ก็ไม่มีการประท้วงหรือคัดค้าน
ผลการแข่งขันแต่อย่างใด

ต๋องทำได้เพียงอันดับ3  ในยุค90 ที่มี
สองตำนานของโลก ที่มีผลงานมากมาย
ขนาดนี้  ก็ถือว่าที่สุดแล้วครับ

สนับสนุนบล็อคเกอร์โดย
#Fulda(m)berhad
#สภท สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย
#สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย
#การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ททท
Amazing Thailand 🇹🇭      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น