วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

บิ๊กสินหนุนเอสวัน ชิงนายกฯ ดีเดย์เลือกตั้งครบวาระ 20 กรกฎาคม 2565 ชาวสอยคิวจับตามอง


วันที่ 20 ก.ค. 2565 นี้ จะเป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี ของสมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย ซึ่งในการประชุมครั้งนี้จะมีวาระสำคัญ คือการเลือกตั้ง นายกสมาคมคนใหม่แทน “เฮียฮง” นายสุนทร จารุมนต์ ที่หมดวาระไป โดย “เฮียฮง” นายกสมาคมคนเดิมแสดงเจตนาว่าจะลงสมัครต่ออีกวาระ ขณะที่ “เอสวัน” นายไชยพงศ์ กรวสุรมย์ อดีตผู้จัดการทีมชาติกีฬาบิลเลียดของไทย ก็มีความสนใจที่จะลงสมัครแข่งขันเพื่อให้สโมสรสมาชิกได้ออกเสียงเลือกในฐานะนายกสมาคมกีฬาบิลเลียดด้วยนั้น

​ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดใจจาก “เอสวัน” นายไชยพงศ์ ว่า ตนมีความตั้งใจอย่างมากที่จะเสนอตัวลงแข่งขันเพื่อให้สโมสรสมาชิกเลือกเป็นนายกสมาคมในวันที่ 20 ก.ค.นี้ โดยการตัดสินใจของตนเองนั้นได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายที่ล้วนเกี่ยวข้องกับวงการสอยคิวประเทศไทยจำนวนหนึ่ง รวมทั้งผู้หลักผู้ใหญ่ที่ตนเองเคารพนับถือด้วย ทั้งนี้ตนเองบอกตรง ๆ คืออยากที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น และวงการกีฬานี้จะต้องดีกว่านี้ เพราะที่ผ่านมาเท่าที่ทราบและพบนั้น หลายอย่างของการบริหารงานของคณะกรรมการบริหารชุดนี้ มีจุดบอกพร่องและผิดพลาดมากพอสมควร รวมทั้งในเรื่องของความโปร่งใสที่ควรจะมีด้วย แต่เรื่องนั้นก็ว่ากันทีหลังเพราะตอนนี้เท่าที่ทราบมีการตรวจสอบอยู่แล้ว

​“เอสวัน” ย้ำอีกว่า ตนเองจะเสนอตัวเพื่อที่จะให้สโมสรสมาชิกหรือกรรมการที่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้พิจารณาความตั้งใจจริงของตนเองที่ผ่านมา พร้อมทั้งการเปรียบเทียบการดำเนินงานของชุดเก่า หากตนเองถูกเลือกเป็นนายกสมาคมก็จะตั้งใจทำหน้าที่และเคลียร์ทุกอย่างที่เป็นข้อปัญหา และข้อสงสัย ที่เกิดขึ้นในวงการทั้งหมด ส่วนหากไม่ได้รับเลือกตนเองก็จะยังทำหน้าที่ส่วนอื่น ๆ ที่จะเป็นการสนับสนุนวงการกีฬาสอยคิวไทยเหมือนเดิม เหมือนที่ได้ทำมาตลอด
​“ผมได้หารือกับท่านสินธุ พูนศิริวงศ์ อดีตนายกสมาคมกีฬาบิลเลียดคนเก่าที่เป็นผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือของคนในวงการนี้มาตลอด ท่านก็เป็นกำลังใจให้ผมลงแข่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ และท่านเห็นตรงกับผมทุกอย่าง” ผู้ที่จะเป็นคู่แข่งของ “เฮียฮง” กล่าว

​ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อสัมภาษณ์ “บิ๊กสิน” สินธุ พูนศิริวงศ์ อดีตนายกสมาคมกีฬาแห่งนี้ 16 สมัย กว่า 30 ปีที่สร้างวงการนี้มา ก่อนที่จะขอยุติบทบาทและสนับสนุน “เฮียฮง” นายสุนทร จารุมนต์ ให้ทำหน้าที่นายกสมาคมต่อจนหมดวาระหนนี้ โดย “บิ๊กสิน” ได้อธิบายความผิดหวังจากสิ่งที่เคยสร้างไว้ให้กับผู้สื่อข่าวฟังอย่างละเอียด พร้อมทั้งระบุว่าเคยได้หารือและบอกกับนายสุนทร เรื่องควรถอยออกจากตำแหน่งนี้ ไปแล้วในฐานะพี่น้องที่ร่วมงานกันมา เพราะเป็นห่วงกระแสจากการทำงานด้านต่าง ๆ และห่วงผลที่จะตามมาจากงานบางสิ่งที่ทำไป
​“เป็นข้อเท็จจริงที่ผมบอกเขาอย่างนั้น และอยากสนับสนุนคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะเข้ามาพัฒนา ด้วยความจริงใจโปร่งใสเพื่อวงการที่แท้จริง เพราะเท่าที่เห็นนั้นผมห่วงใยมาก ผมคุยกับไชยพงศ์ตลอดและฝากไว้ที่เขา” 
บิ๊กสินสรุปอย่างชัดเจนกับผู้สื่อข่าว

และผู้สื่อข่าวได้ติดต่อไปยัง ดิไอดอล ต๋อง ศิษย์ฉ่อย อดีตนักสนุ้กเกอร์มืออันดับสามของโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารงาน
สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย โดย
ต๋อง มีตำแหน่งเป็นประชาสัมพันธ์ของสมาคม

"ถ้าผมพูดในฐานะของ นักกีฬา ซึ่งผมลงแข่งขันทุกรายการที่ทางสมาคมฯ จัดขึ้น รวมทั้งเป็นนักกีฬาทีมชาติไทย ไปร่วมแข่งขันใน
มหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่31 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม    ความสำคัญที่ผมมองว่าโต๊ะแข่งขัน หรือ โต๊ะสำหรับนักกีฬาทีมชาติไทยใช้ในการเก็บตัว ที่ผ่านมาคือ โต๊ะสนุ้กเกอร์ชุดเดียวกัน  ซึ่งไม่เพียงแต่ผมเท่านั้น ยังมีนักกีฬาจำนวนมากที่มาลงแข่งขัน รวมทั้งนักกีฬาที่ได้รับคัดสรรให้เป็นหนึ่งในนักกีฬาทีมชาติ    เรียกรวมๆ ว่า "อุปกรณ์กีฬา" ที่ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา  บอกตามตรงว่า มาตราฐานและคุณภาพของอุปกรณ์กีฬา
สนุ้กเกอร์ไม่ได้มาตราฐาน  รวมไปถึงการเปลี่ยนผ้าสักหลาด  

ตามปกติผ้าสักหลาดมีอายุการใช้งานราวๆ 2-3 เดือนเป็นอย่างมาก  ก็ควรที่จะเปลี่ยน รวมทั้งยางชิ่งที่มีอายุใช้งานในระยะเวลาจำกัดเช่นกัน   หากจะเปรียบกับสนุกเกอร์อาชีพระดับโลก  เขาใช้แข่งขันเพียง 4-5 วันเท่านั้น
ก็เปลี่ยนใหม่แล้ว  เขาให้ความสำคัญกับเรื่อง
คุณภาพของอุปกรณ์กีฬาเป็นอย่างมาก เพราะต้องการให้นักกีฬาได้แข่งขันในโต๊ะสนุ้กเกอร์ที่ได้มาตราฐาน เพื่อให้นักกีฬาได้โชว์ศักยภาพได้ดีที่สุด   แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าทางสมาคมฯ ละเลย เพิกเฉย  จนกระทั่งมี
กระแสในโลกออนไลน์ครั้งนึง จึงจะปรับปรุง
แก้ไข  นั่นเลยทำให้นักกีฬาสนุ้กเกอร์อาชีพไทย  แข่งขันกับอุปกรณ์กีฬาที่ไม่ได้มาตราฐาน  ก็เป็นเรื่องที่ทำให้นักกีฬาเสียโอกาส

และสืบเนื่องจากกีฬาซีเกมส์ ที่ผ่านมา นักกีฬาไทยก็พลาดโอกาสที่จะคว้าเหรียญทอง ทั้งๆ ที่เรามีนักกีฬาคุณภาพอย่าง กฤษณัส เลิศสัตยาทร(นุ๊ค สงขลา) หรือ ภาสกร สุวรรณวัฒน์
(กร นครปฐม) และอีกหลายคน ที่ต้องขอบอก
ตามตรงว่า  ไทยเราแพ้เพราะอุปกรณ์กีฬา 

ส่วนเรื่องอื่นๆ ผมบอกแบบสั้นๆ อย่างกรณีกีฬา Cuesports ที่นักกีฬาไทยมีลุ้นคว้าเหรียญ อาทิ บิลเลียด , พูล และ แครอม .. รวมทั้ง สนุ้กเกอร์หญิง  ที่ผ่านมามีการชิงแชมป์ประเทศไทย เพียงแค่รายการเดียว คนที่สนใจอยากเล่นกีฬา Cuesports  ทุกคนมืดมน มองไม่เห็นเส้นทางของอนาคต ว่าเล่น
แล้ว แข่งแล้ว จะไปอย่างไรต่อ   ระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา เรื่องเหล่านี้ยังคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี หรือมองเห็นเป็นรูปธรรมว่า เป็นความก้าวหน้าของกีฬา
Cuesports ของประเทศไทย

"ผมก็เห็นด้วยกับคุณลุงสินธุ และก็พร้อมให้การสนับสนุนคุณไชยพงศ์ กวรสุรมย์(เอส)
ให้ร่วมลงสมัครรับการเลือกตั้งในวันที่ 20 กรกฎาคม 2565   ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจนถึงจบมหกรรมกีฬาซีเกมส์   ผมเห็นถึงความตั้งใจ
และการทำงานที่ส่งเสริมนักกีฬาเยาวชนรุ่นใหม่ๆ และกิจกรรมมากมายเพื่อกีฬาสนุ้กเกอร์

หากท่านที่มีสิทธิ์ในการโหวตลงคะแนน อยาก
จะเปลี่ยนแปลงให้คนรุ่นใหม่มาทำงานดูบ้าง ก็
เป็นเรื่องที่น่าจะให้การสนับสนุน"ต๋องกล่าว

#เลือกตั้งนายกสมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย
#สนุ้กเกอร์ประเทศไทย
#20กรกฏาคม2565วันเลือกตั้ง

                      ⚪⚫🟡🔴🟢

             🙏สนับสนุนโพสต์โดย🙏          
#การกีฬาแห่งประเทศไทย 
#การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 
#AmazingThailand
#TATSookerClubกีฬาและสันทนาการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
#LamaiJazzBarAndBristoขอนแก่น
#BAACศูนย์การแพทย์ชะลอวัยและความงาม
#NicheCuesChantaburi
#มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา
#Usnooker
#Usports 

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

Q School & Snooker's Thailand

การแข่งขันในรายการ Asia Ocenia Q-School2022 in Bangkok-Thailand  จะเริ่มต้นระหว่างวันที่ 1-12 มิถุนายน 65 ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันร่วมกันระหว่าง สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย ร่วมกับ WST World Snooker Tour หรือในชื่อเดิมคือ WPBSA World Professional Billiard & Snooker Association โดยมีจุดประสงค์ที่จะใช้ประเทศในโซนเอเซียเป็นฐานในการสร้างนักสนุ้กเกอร์สมัครเล่น ให้ก้าวไปสู่การเล่นในระดับโลกอาชีพ  โดยประเดิมการจัดการแข่งขันครั้งแรกในประเทศไทย

ในส่วนของการประชาสัมพันธ์ที่ทางสมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย ได้ลงประชาสัมพันธ์ครั้งแรก  ในวันที่ 4 เมษายน 2565 ผ่านทางเพจของสมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย รวมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่าน Content ของ WST จนมาถึงวันที่ปิดรับสมัคร วันที่ 16 พฤษภาคม 2565  ปรากฏว่ามีนักกีฬาสมัครเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 70 ผุ้เล่น จาก 12 ประเทศในโซนเอเซีย  โดยเป็นนักกีฬาไทยจำนวน 24 คน  และนักกีฬาต่างชาติจำนวน 46 คน  โดยนักกีฬาไทยที่ได้รับสิทธิ์ให้ลงแข่งโดยการสนับสนนเงินค่าสมัครจำนวน 400 ปอนด์ จำนวน 17 คน ที่เหลืออีก 7 คน เป็นนักกีฬาไทยที่จ่ายค่าสมัครด้วยตนเอง หรือมีผู้สนับสนุนค่าสมัครแข่งขัน

การจัดการแข่งขัน Asia Ocenia Q-School 2022 in Bangkok-Thailand ที่เก็บค่าสมัครเพียง 400 ปอนด์ และนักกีฬาสามารถลงแข่งขันได้ถึง 2 Events โดยนักกีฬาที่สามารถเข้าถึงรอชิงชนะเลิศ ทั้ง 2 Events จะได้สิทธิ์ในการเลื่อนชั้นไปเล่นในระดับโลกอาชีพ ใน ฤดูกาล 2022/2023 และ 2023-2024  จำนวน 4 โควต้า  ซึ่งถือว่าเป็นช่องทางและโอกาสที่ดีของนักกีฬาไทยและต่างชาติที่มีภูมิลำเนาอยู่ในโซนเอเซีย  โดยเฉพาะความสำคัญในเรื่องของ “ค่าใช้จ่าย” และ “การเดินทาง” หากนักกีฬาที่สมัครแข่งขันมาร่วมแข่งขันที่ กรุงเทพมหานคร  ก็จะได้ประหยัดทั้งค่าสมัคร  ที่ถูกกว่า (ที่อังกฤษ ในรายการ Q School นักกีฬาจะต้องเสียค่าสมัครคนละ 1,000 ปอนด์ ได้สิทธิ์แข่งขัน Q School จำนวน 3 Events) และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าโรงแรมที่พัก ค่าฟิตซ้อม ซึ่งในกรุงเทพมหานคร  มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าที่นักกีฬาจะเดินทางไปแข่งขันที่ อังกฤษ (Ponds Forge International Sports Centre เมือง Sheffield ประเทศอังกฤษ)
ข้อดีมากมายสำหรับ นักสนุ้กเกอร์สมัครเล่นทั้งที่เป็นชาวไทย และชาวต่างชาติ กับช่องทางและโอกาสสุดพิเศษ 

แต่ทำไมกลับมีผลลัพธ์ของ ผู้สมัครเข้าแข่งขันเพียง 70 คนเท่านั้น และเป็นนักกีฬาต่างชาติเพียง 46 คน ส่วนนักกีฬาไทยที่มีเพียง 24 คน และก็ยังเป็นโควตาที่ได้รับการสนับสนุนค่าสมัครแข่งขันเกือบ 20 คน   


ในกรณีนี้ผู้สันทัดกรณีหลายท่าน ที่ได้ติดตามข่าวสารการประชาสัมพันธ์ การแข่งขัน Asia Ocenia Q-School 2022 in Bangkok-Thailand ต่างก็เห็นพ้องมองเป็นจุดเดียวกันที่เป็นความผิดพลาด  นั่นคือ “การประชาสัมพันธ์”  ซึ่งหน้าที่ของผู้จัดการแข่งขัน คือ สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบการจัดการแข่งขัน   ซึ่งหากเปรียบเทียบจำนวนนักกีฬา  ที่เดินทางไปแข่งขัน Q School 2022 ทั้ง 3 Events ที่ประเทศอังกฤษ ที่ต้องจ่ายค่าสมัคร 1,000 ปอนด์  ค่าใช้จ่ายสูงกว่า  แต่กลับมีนักกีฬาสมัครเข้าแข่งขันถึง 190 คน  มากกว่า Asia Ocenia Q-School 2022 in Bangkok-Thailand เกือบสามเท่า!!
ในวันแถลงข่าวที่ นายสุนทร จารุมนต์ นายกสมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย  ได้กล่าวถึงการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ว่าในอนาคตต่อไป “ประเทศไทย จะได้เป็นเจ้าภาพผู้จัดการแข่งขัน Asia Ocenia Q-School ไปตลอดอีกหลายปี และประเทศไทยเราจะเป็นศูนย์กลางในการผลิตนักสนุ้กเกอร์สมัครเล่นหน้าใหม่ ให้ได้เลื่อนชั้นไปเล่นระดับโลกอาชีพ”   สิ่งที่ท่านนายกได้แถลงข่าวผ่านสื่อจำนวนมาก  นับเป็นเจตนารมย์ที่ดี  พร้อมความตั้งใจที่ดี   เพียงแต่ผลลัพธ์ที่คาดหวังว่า น่าจะมีนักกีฬาในโซนเอเซียมาร่วมสมัครแข่งขันเป็นจำนวนมาก   ก็ไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวัง   จุดอ่อนสำหรับรายการนี้ก็แค่เรื่อง “การประชาสัมพันธ์”  ที่เกิดขึ้นเพียง 2 ครั้ง คือวันแถลงข่าวจัดการแข่งขันและเปิดรับสมัคร  กับวันปิดรับสมัครและการจับฉลากประกบคู่  ที่เหลือนอกจากนี้ สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย  แทบจะไม่มีการประชาสัมพันธ์ โปรโมท การแข่งขันรายการ Asia Ocenia Q-School2022 in Bangkok-Thailand อีกเลย

ข้อมูลส่วนนี้  ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับ สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย  ที่จะได้นำไปพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้ประเทศไทย ได้รับสิทธิ์และได้รับเกียรติ์ให้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันรายการนี้ต่อไปในอนาคต
มาย้อนปูมหลังกัน  สำหรับสิทธิ์ในการเลื่อนชั้นไปเล่นในระดับโลกอาชีพ  ในอดีตความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองสมาคมระดับโลกคือ IBSF หรือ International Billiard and Snooker Federation  ซึ่งปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงโดฮา ประเทศการ์ต้า  และมีการจัดการแข่งขันกีฬา Cuesports ตามรายการดังต่อไปนี้
- IBSF World Snooker Championships
- IBSF World 6Red Championships
- IBSF World Team Snooker Championships
- IBSF World Under-18 Snooker Championship
- IBSF World Under-21 Snooker Championships 
- IBSF World Women Snooker Championships
- IBSF World Masters Snooker Championships
- IBSF World Billiards Championships

กับทาง WPBSA หรือ World Professional Billiard and Snooker Association ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น WST หรือ World Snooker Tour ซึ่งการแข่งขันหลักๆ ก็จะเป็นการแข่งขันสะสมคะแนนสนุ้กเกอร์อาชีพ และยังมีการแตกแขนงออกไปจัดทัวร์นาเม้นท์อื่นๆ เช่น WWS  World Woman Snooker  / World Senior Snooker รวมทั้งการแข่งขันในระดับเยาวชนรุ่นต่างๆ ที่มีจัดการแข่งขันมากมายในประเทศที่อยู่เครือจักรภพ หรือ
United Kingdom 
แต่เดิมนักกีฬาในโซนเอเชียและประเทศอื่นๆ ที่ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันในรายการ IBSF ASIA Snooker Championship หรือ IBSF Wolrd Amatuer Snooker Championship  สำหรับแชมป์ในสองรายการนี้ จะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปแข่งขันในระดับโลกอาชีพทันที  และพอย้อนมาดูความสามารถของนักกีฬาไทย ที่สามารถคว้าแชมป์เอเชีย และแชมป์โลกสมัครเล่นนับตั้งแต่ยุคของ วัฒนา  ภู่โอบอ้อม(ต๋อง ศิษย์ฉ่อย) ที่คว้าแชมป์โลกสมัครเล่น1988  หรือ อุดร ไข่มุก(ดร  เมืองชล)ที่คว้าแชมป์เอเซีย1987  และจากนั้นมามีนักกีฬาไทยที่ประสบความสำเร็จ คว้าแชมป์ทั้งสองรายการ จนได้เลื่อนชั้นไปเล่นในระดับโลกอาชีพหลายต่อหลายคน
แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง  ความสัมพันธ์อันดีระหว่าง IBSF และ WPBSA ได้เกิดรอยร้าวจากเหตุผลส่วนตัวของทั้งสองสมาคมและสมาพันธ์ระดับโลก  ทำให้ WPBSA หรือ WST ไม่ให้สิทธิ์กับแชมป์เอเชียและแชมป์โลกสมัครเล่น ได้เลื่อนชั้นไปร่วมแข่งขันในทัวร์เม้นท์ระดับโลกเหมือนเดิมอีกต่อไป   เหลือเพียงโควตาเดียวสำหรับนักสนุ้กเกอร์สมัครเล่นจากประเทศไทยและโซนเอเซีย รวมทั้งนานาประเทศที่มีนักกีฬาสนุ้กเกอร์ที่มีฝีมือ  นั่นคือการแข่งขันนรายการ Q School ซึ่งจะมีการจัดแข่งขันทุกปี  หลังจากจบศึกชิงแชมป์โลก ที่ Crucible Theater เมือง Sheffield ประเทศอังกฤษ  ในเดือนพฤษภาคมของทุกปี (ยกเว้นในช่วงโควิด19 จะมีในปี 2019-2021 ที่กำหนดการแข่งขัน จะเลื่อนจากกำหนดการปกติ) และในโควต้าของ Q School นี่เอง   จะมีการแข่งทั้งสิ้น 3 Events โดยนักกีฬาที่สามารถเข้าถึงรอบ Semi final ในแต่ละรายการจะได้เลื่อนชั้นไปเล่นใน World Ranking Tour 2 ฤดูกาลทันที รวมเป็น 12 ผู้เล่นที่ได้สิทธิ์นั้น!!
ย้อนกลับมาที่สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย  ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการสมาคมเช่นกัน  ในช่วงเดือนเมษายน 2019 (พ.ศ.2562) ก็ถึงช่วงเวลาของการสิ้นสุดวาระการบริหารงานของสมาคมฯ ในยุคของ นายสินธุ  พูนสิริวงศ์ อดีตนายกสมาคม และคณะกรรมการในชุดนั้น   มีการแถลงข่างชี้แจงงบดุลและวาระการประชุม  พร้อมทั้งการลงมติเป็นเอกฉันท์ ให้แต่งตั้ง นายสุนทร  จารุมนต์ เข้ารับตำแหน่งนายกสมาคมคนต่อไป  นันตั้งแต่เดือนเมษายน 2019 (พ.ศ.2562) จนถึงปัจจุบัน 2022
(พ.ศ.2565)

ในรอบบริหารงานของสมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย  ในยุคของ นายสุนทร  จารุมนต์ นายกสมาคม  กลับไม่เคยส่งนักกีฬาสัญชาติไทยไปร่วมแข่งขัน Q School ตลอดระยะเวลา 4 ปีของการบริหาร  เป็นคำถามที่ยังคาใจของผู้คนในแวดวงกีฬาสนุ้กเกอร์  ในขณะที่ทัวร์ระดับโลก  ประเทศไทยเหลือมืออาชีพเพียง 3 คน คือ นพพล แสงคำ(หมู  ปากน้ำ), เทพไชยา อุ่นหนู (เอฟ นครนายก) และ อรรคนิธิ ส่งเสริมสวัสดิ์(ซันนี่ อัคนิ) ที่พลาดท่าหลุดออกจาก Top64 เมื่อจบฤดูกาล 2021/2022

และนั่นก็หมายถึงประเทศไทย  ไม่ได้มีการส่งเสริมนักกีฬาสนุ้กเกอร์ ให้ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศ หรือความสูงสุดของกีฬาสนุ้กเกอร์  นั่นคือ “การได้เป็นนักกีฬาอาชีพระดับโลก”  คำถามคาใจที่ว่า  “ทำไมถึงไม่ส่งนักกีฬาไทยไปร่วมแข่งขัน?”มีสื่อที่นำเสนอเรื่องดังกล่าวเช่น เพจดัง Tong Snooker Club  ตั้งคำถามไปยังสมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทยทุกปีเกี่ยวกับเรื่องนี้  แต่สังคมก็ไม่เคยได้รับคำตอบ  และก็เงียบหายไปเหมือนไฟไหม้ฟางที่ต้องดับมอดลงตามเงื่อนไขของเวลา

จนมาในช่วงที่การบริหารงานของ สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย ชุดปัจจุบัน  ซึ่งครบวาระการบริหารงาน 4 ปี แต่มีเหตุจะต้องเลื่อนการ จัดการเลือกตั้งนายกสมาคมคนใหม่พร้อมคณะกรรมการบริหารงานสมาคมออกไปราว 2 เดือน(มิถุนายน 2565) เนื่องจากมีการลาออกของกรรมการสมาคม และการเพิ่มชื่อกรรมการสมาคมคนใหม่  ทำให้การรับรองจากต้นสัฃงกัด คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย  จะต้องเลื่อนออกไปตามขอบเขตของกฎหมายและข้อบังคับ   

เรื่องนี้ก็คงต้องยกยอดให้เป็นนโยบายใหม่ ที่การเลือกตั้งนายกสมาคมและคณะกรรมการ คนใหม่ ชุดใหม่  ซึ่งอาจจะเป็นชุดเดิมหรือชุดไหนก็ตาม ที่จะต้องเร่งผลักดันในการสนับสนุน ส่งเสริม ให้นักกีฬาไทยได้ไปร่วมลงแข่งขันคัดเลือก Q School ในปีต่อๆ ไป

และคำถามก็ต้องตามมาว่า  นี่ไง Asia Ocenia Q School in Bangkok  ทางสมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย ก็จัดขึ้นแล้วไง  (จะเอาอย่างไรกันอีก)   

          การแข่งขันนี้ .. ไม่ตอบโจทย์!?!

ก็ต้องมาดูประโยชน์ของการจัดการแข่งขัน ว่าเกิดขึ้นกับนักกีฬาไทยมากน้อยแค่ไหน ที่จัดขึ้นประโยชน์เกิดขึ้นรวมกับนักกีฬาในโซนเอเซียทั้งหมด  ก็คงไม่ตรงตามจุดประสงค์ที่จะพัฒนานักกีฬาไทยโดยตรง และยังมีในเรื่องของ “การสนับสนุน”  หากนักกีฬาไทยที่สามารถเลื่อนชั้นไปเล่นอาชีพ  แล้วจะเอาเงินทุนที่ไหนไปใช้จ่ายกับค่าใช้จ่ายสูงลิบลิ่วในประเทศอังกฤษ
ปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนด หรือตัวบทกฎหมายในการรองรับ  สำหรับการสนับสนุน นักกีฬาอาชีพ  แต่ความเป็นจริงตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา  ทุกคนก็ทราบกันดีว่า  นักกีฬาสนุ้กเกอร์อาชีพไทย  มีผู้ให้การสนับสนุนน้อยมาก ขนาดมือที่มีอันดับโลกสูงๆ  ยังต้องวิ่งหาผู้สนับสนุนกับเป็นตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน็อต  นั่นก็เลยตอบโจทย์ของ “ผู้สนับสนุน” ได้ทันที ยิ่งถ้าเป็นนักสนุ้กเกอร์มือใหม่ หน้าใหม่  ต่อให้เก่งจริงๆ แต่ก็คงจะไม่ง่ายที่จะหา “ผู้ให้
การสนับสนุน”  อันนี้ก็เป็นอีกประเด็นหลักๆ  ที่ทางสมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย ชุดต่อไป  จะต้องนำไปพิจารณา  หากคิดว่าจะสนับสนุนนักกีฬาสนุ้กเกอร์อาชีพอย่างเป็นรูปธรรม  


ผ่านมา 4 ปีของคณะกรรมการบริหารชุดก่อน  ก็ปล่อยให้ผ่านไป  แต่คณะกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่(ซึ่งอาจจะเป็นชุดเก่าก็ได้)  ก็ต้องทำตามเจตนารมณ์ของ ผู้ให้การสนับสนุนหลักของสมาคม นั่นก็คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย ที่มีสโลแกนชัดเจนคือ “การพัฒนานักกีฬาให้สู่ความเป็นเลิศ”  และหากทำได้  นั่นล่ะคือโอกาสและช่องทางที่จะนำ ประเทศไทยกลับมาสู่ความเป็นหนึ่งของ “กีฬาสนุ้กเกอร์”  ขอฝากเอาไว้ถึงท่านๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ในบทความนี้

คราวนี้กลับมาดูโอกาสของนักกีฬาไทยใน Aisa Ocenia Q-School 2022 in Bangkok-Thailand  จะเริ่มแข่งในวันที่ 1-12 มิถุนายน 2565 ณ สโมสรราชกรีฑา(สนามม้าฝรั่ง) ถนนอังรีดูนังต์   ที่จะใช้เป็นสังเวียนประลองฝีมือของ 70 ผู้เล่นที่ลงสมัครแข่งขันในครั้งนี้  

ลำดับที่1 Pasin Puoborm (ตั้ม ศิษย์ฉ่อย)    ลำดับที่2 Wiphu Phuthisabodi (บอย วิภู)
ลำดับที่8 Dechawat Poomjaeng (แจ็ค สระบุรี) ลำดับที่15 Anekthana Sangnil (แซ็ค โซโฟน)
ลำดับที่17 Jongrak Boonrod (ไผ่ สากล)  ลำดับที่18 Thitipong Choolasak (นัท เอสอาร์ สระบุรี)
ลำดับที่19 Narongdat Takantong (โฟน อุบลฯ) ลำดับที่20 Putthakarn Kimsuk (พุฒิ  รังสิต)
ลำดับที่21 Thaweesap Kongkitchertchoo (โตโต้ ศิษย์ตุ้ม) ลำดับที่22 Thanaphon Bunplot(บอล สุรินทร์)
ลำดับที่23 Pantakan Kanwiang(ดรีม ขอนแก่น) ลำดับที่24 Rachata Khantee(เหนือ  บางแสน)
ลำดับที่25 Kritsanut Lertsattayathorn(นุ๊ค สงขลา) ลำดับที่26 Thanawat Tirapongpaiboon(แมน นครปฐม)
ลำดับที่28 Tawan Pooltong(โย่ จันท์)    ลำดับที่29 Pornpiya Kaosumran(แบ็งค์ โซโห)
ลำดับที่30 Yanawarut Phuekklom(โฟน นครสวรรค์) ลำดับที่31 Rattanachai Tupadilok (ฟิว นครนายก)
ลำดับที่33 Teerawat Srikaithai( .... ) ลำดับที่34 Nutdanai Manawm(โฟกัส โคราช)
ลำดับที่35 Anukkhaporn Kidsamran(ดิว จันท์)  ลำดับที่36 Chayanon Thiansuk (ริว นครสวรรค์)
ลำดับที่65 Poramin Danjrikul (นุ๊ค คอนหวัน) ลำดับที่70 Pongsakron Chonggjairak(ท๊อป จันท์)

จากนักกีฬาไทย 24 คน ที่พอจะมีลุ้นแบบหวังผลได้ราว 5 คน ก็ได้แก่อดีตโปรเก่า ทั้ง แจ็ค สระบุรี,นุ๊ค  สงขลา , แมน นครปฐม และอีกสองมือชั้นนำของไทยคือ นุ๊ค คอนหวัน และท๊อป จันท์   ส่วนดาวรุ่งหลายคนก็พอมีลุ้นสอดแทรก ทว่าสอง Events ที่จับฉลากประกบคู่กันไป  นักกีฬาหลายคนต้องเจอกันเองก่อนในแมทช์แรก  ก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย  ก็ต้องมาลุ้นกันว่า 24 นักสนุ้กเกอร์ของไทย  ใครจะเป็นคนที่ทำสำเร็จ

ลองมาดูรายชื่อนักกีฬาต่างชาติ  ที่เล่นอาชีพและเพิ่งหล่นชั้นมาจากจีน Lua Hanghao คนนี้ก็เคยซ้อมกับ ดิไอดอล ต๋อง ศิษย์ฉ่อย  มาคราวนี้ก็เป็นหนึ่งในตัวเต็งที่มีลุ้นคว้าตั๋วกลับไปเล่นอาชีพ   Jeffrey Roda จากฟิลิปปินส์ คนนี้ก็ไม่เบา ฉายแววล่าสุดจากกีฬาซีเกมส์ครั้งล่าสุด  เป็นอีกคนที่น่ากลัว  และนักกีฬายกชุดมาจากมาเลเซีย ไม่ว่าจะเป็นโปรเก่า อย่าง Chuan Leong Thor รวมทั้งมือท๊อปๆ ไม่ว่าจะเป็น Moh Keen Hoo , Lim Kok Leong , Loh Chung Leong ต่างก็มาแข่งกันพร้อมความหวังเต็มเปี่ยม Hamza Akbar มือชั้นนำของปากีสถานพร้อมสมาชิกที่มาร่วมแข่งนับสิบ ต่างก็มีลุ้นกันทุกคน  เรียกว่า Asia Ocenia Q-School2022 in Bangkok-Thailand ในปีนี้   ต้องลุ้นกันถึงเฮือกสุดท้าย

ผู้อ่านสามารถคลิกดูรายละเอียดของการแข่งขัน วันเวลาแข่งของแต่ละคู่ และเส้นทางของนักกีฬาจากตารางก้างปลาด้านล่าง   
                                      
https://wst.tv/asia-oceania-q-school-draw-and-format/

ก่อนปิดท้ายบทความ  ยังมีคำถามและข้อสงสัย  สำหรับการแข่งขันในรายการ Asia Ocenia Q-School 2022 ครั้งนี้ว่าถ้าเกิดนักกีฬาไทยทำสำเร็จ   แล้วจะเอาเงินทุนที่ไหน? สำหรับไปแข่งขันใน World Ranking Tour 2022/2023 และ 2023/2024   

ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่หน้าที่ของสมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย   แต่ก็น่าจะเป็น “ธุระ” ให้นักกีฬามิใช่หรือ เพราะยังไงก็ยังเป็นหัวใจหลักของ “การสนับสนุนนักกีฬาให้ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศ”  เวลายังพอมี  น่าจะติดต่อประสานงานกับเจ้าของกิจการ บริษัทใหญ่ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน  “หาทุนสำรอง” ไว้รองรับ  หากนักกีฬาไทยทำได้ 

เพราะหากนักกีฬาไทยทำได้ขึ้นมา  แต่ไม่มีทุนไปแข่ง  และต้องยกเลิกสิทธิ์ไป  นัยว่าทาง WST World Snooker Tour อาจจะมีการปรับเงินนักกีฬาที่ได้สิทธิ์แต่ไม่ได้ไปแข่งด้วย 

ก็รวบรวมเรื่องราว เนื้อหาและความเป็นไป  ของหนทางและเส้นทางพร้อมกับอุปสรรคมานำเสนอตามความเป็นจริง เพื่อให้วงการ “กีฬาสนุ้กเกอร์ไทย” ได้มีโอกาสกลับมาทวงความยิ่งใหญ่ อย่างที่ประเทศไทยเคยเป็นหนึ่งในอดีตมาตลอดและทุกคนก็อยากให้ทวงความสำเร็จนั้นกลับคืนมาให้ได้  อย่างใจจดใจจ่อ 


บทความโดย : เพจ I AM TUM Sidchoi


                  🙏สนับสนุนโพสต์โดย🙏 
#การกีฬาแห่งประเทศไทย 
#การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 
#AmazingThailand
#TATSookerClubกีฬาและสันทนาการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
#DrAirเครื่องบำบัดอากาศสำหรับคุณ
#LamaiJazzBarAndBristoขอนแก่น
#BAACศูนย์การแพทย์ชะลอวัยและความงาม
#NicheCuesChantaburi
#มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา
#Usnooker
#Usports

กดติดตามเพจใหม่ของ Tong Snooker club
เปิดเพจใหม่เป็น Tong Snooker club #2
(เพจสำรองสำหรับแฟนคลับ เผื่อฉุกเฉินครับ)

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

นักกีฬา .. สำคัญไฉน

นักกีฬา ... สำคัญไฉน!?!

นักกีฬา ก็คือบุคคลทั่วไปที่มีความสามารถพิเศษ ในการเล่น "กีฬา" ชนิดต่างๆ ตามแต่
ภูมิลำเนา หรือประเทศที่บุคคลนั้นๆ อาศัยอยู่   และด้วยความสามารถพิเศษนั้น ทำให้
อารยประเทศทั่วโลก  จัดให้มีการแข่งขัน
กีฬาต่างๆ มากมาย เพื่อจุดประสงค์หลัก คือ
การเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีที่ดีระหว่างประเทศ
และให้ผู้คนได้อยู่ห่างไกลจากสิ่งที่เป็นอบายมุขทั้งหลาย อาทิ ยาเสพติด,การพนัน

มาดูมหกรรมกีฬาสำคัญๆ ที่มีในโลกของเรา
กัน เริ่มที่สุดยอดของมหกรรมกีฬา นั่นก็คือ
กีฬาโอลิมปิกเกมส์ (อังกฤษOlympic Gamesฝรั่งเศสles Jeux olympiques, JO) หรือกีฬาโอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่ (อังกฤษModern Olympic Games) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศที่สำคัญ มีทั้งกีฬาฤดูร้อนและฤดูหนาว โดยมีนักกีฬากว่าพันคนเข้าร่วมการแข่งขันในหลายชนิดกีฬา กีฬาโอลิมปิกถูกมองว่าเป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญที่สุดของโลก โดยมีประเทศเข้าร่วมแข่งขันกว่า 200 ประเทศ ปัจจุบัน กีฬาโอลิมปิกจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี โดยผลัดกันระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อนกับโอลิมปิกฤดูหนาวห่างกันทุก 2 ปี

การสร้างสรรค์กีฬาโอลิมปิกได้รับแรงบันดาลใจจากกีฬาโอลิมปิคโบราณ (กรีก)  ที่เคยจัดขึ้นในโอลิมเปีย กรีซ จากในระหว่างศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดย บารอน ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ใน พ.ศ. 2437 จนนำไปสู่การจัดโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2439 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ นับแต่นั้นมาไอโอซีกลายเป็นองค์การที่ดูแลกระบวนการโอลิมปิก (Olympic Movement) โดยมีกฎบัตรโอลิมปิกนิยามโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ


วิวัฒนาการของกระบวนการโอลิมปิกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 และ 21 ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อกีฬาโอลิมปิกหลายประการ การปรับแก้บางอย่างรวมไปถึง การริเริ่มโอลิมปิกฤดูหนาวเพื่อแข่งขันกีฬาน้ำแข็งและฤดูหนาว กีฬาพาราลิมปิกเพื่อนักกีฬาที่มีความพิการทางร่างกาย และกีฬาโอลิมปิกเยาวชนเพื่อนักกีฬาวัยรุ่น ไอโอซีได้ปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 20 ตามความจริง ผลคือ กีฬาโอลิมปิกได้ขยับจากลักษณะมือสมัครเล่นบริสุทธิ์ (pure amateurism) ตามแนวคิดของกูแบร์แต็ง เพื่อให้นักกีฬาอาชีพร่วมการแข่งขันได้ ความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของสื่อมวลชนได้ก่อให้เกิดปัญหาการอุปถัมภ์โดยบริษัทและการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากกีฬาโอลิมปิก สงครามโลกนำไปสู่การยกเลิกโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2459, 2483 และ 2487 มีการคว่ำบาตรครั้งใหญ่ระหว่างสงครามเย็น ซึ่งจำกัดการเข้าร่วมในโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2523 และ 2527


กระบวนการโอลิมปิกประกอบด้วยสหพันธ์กีฬาระหว่างประเทศ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ และคณะกรรมการจัดการแข่งขันของกีฬาโอลิมปิกแต่ละครั้ง เมืองเจ้าภาพเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการแข่งขันและการจัดหาเงินทุนเพื่อสมโภช (celebrate) กีฬาตามกฎบัตรโอลิมปิก โปรแกรมโอลิมปิก ซึ่งประกอบด้วยกีฬาที่จะมีการแข่งขันในโอลิมปิก ถูกกำหนดโดยไอโอซีเช่นกัน การสมโภชกีฬาโอลิมปิกหมายรวมพิธีการและสัญลักษณ์จำนวนมาก อาทิ ธงและคบเพลิงโอลิมปิก ตลอดจนพิธีเปิดและปิด มีนักกีฬากว่า 13,000 คนเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนและฤดูหนาวใน 33 ชนิดกีฬา เกือบ 400 รายการ ผู้ที่ชนะเลิศเป็นอันดับหนึ่ง สองและสามในแต่ละรายการจะได้รับเหรียญโอลิมปิก ทอง เงินและทองแดง ตามลำดับ


การสร้างสรรค์กีฬาโอลิมปิกได้รับแรงบันดาลใจจากกีฬาโอลิมปิกโบราณ (กรีกὈλυμπιακοί Ἀγῶνες) ที่เคยจัดขึ้นในโอลิมเปีย กรีซ จากในระหว่างศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดย บารอน ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ใน พ.ศ. 2437 จนนำไปสู่การจัดโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2439 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ นับแต่นั้นมาไอโอซีกลายเป็นองค์การที่ดูแลกระบวนการโอลิมปิก (Olympic Movement) โดยมีกฎบัตรโอลิมปิกนิยามโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ

วิวัฒนาการของกระบวนการโอลิมปิกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 และ 21 ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อกีฬาโอลิมปิกหลายประการ การปรับแก้บางอย่างรวมไปถึง การริเริ่มโอลิมปิกฤดูหนาวเพื่อแข่งขันกีฬาน้ำแข็งและฤดูหนาว กีฬาพาราลิมปิกเพื่อนักกีฬาที่มีความพิการทางร่างกาย และกีฬาโอลิมปิกเยาวชนเพื่อนักกีฬาวัยรุ่น ไอโอซีได้ปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 20 ตามความจริง ผลคือ กีฬาโอลิมปิกได้ขยับจากลักษณะมือสมัครเล่นบริสุทธิ์ (pure amateurism) ตามแนวคิดของกูแบร์แต็ง เพื่อให้นักกีฬาอาชีพร่วมการแข่งขันได้ ความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของสื่อมวลชนได้ก่อให้เกิดปัญหาการอุปถัมภ์โดยบริษัทและการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากกีฬาโอลิมปิก สงครามโลกนำไปสู่การยกเลิกโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2459, 2483 และ 2487 มีการคว่ำบาตรครั้งใหญ่ระหว่างสงครามเย็น ซึ่งจำกัดการเข้าร่วมในโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2523 และ 2527


กระบวนการโอลิมปิกประกอบด้วยสหพันธ์กีฬาระหว่างประเทศ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ และคณะกรรมการจัดการแข่งขันของกีฬาโอลิมปิกแต่ละครั้ง เมืองเจ้าภาพเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการแข่งขันและการจัดหาเงินทุนเพื่อสมโภช (celebrate) กีฬาตามกฎบัตรโอลิมปิก โปรแกรมโอลิมปิก ซึ่งประกอบด้วยกีฬาที่จะมีการแข่งขันในโอลิมปิก ถูกกำหนดโดยไอโอซีเช่นกัน การสมโภชกีฬาโอลิมปิกหมายรวมพิธีการและสัญลักษณ์จำนวนมาก อาทิ ธงและคบเพลิงโอลิมปิก ตลอดจนพิธีเปิดและปิด มีนักกีฬากว่า 13,000 คนเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนและฤดูหนาวใน 33 ชนิดกีฬา เกือบ 400 รายการ ผู้ที่ชนะเลิศเป็นอันดับหนึ่ง สองและสามในแต่ละรายการจะได้รับเหรียญโอลิมปิก ทอง เงินและทองแดง ตามลำดับ


ต่อมาเป็นมหกรรมกีฬา เอเชี่ยนเกมส์ 

กีฬาเอเชียนเกมส์ (อังกฤษ: Asian Games; ชื่อย่อ: Asiad) เป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิดระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย ซึ่ง มีการจัดขึ้นในทุกสี่ปี เริ่มกำหนดการแข่งขันโดย สหพันธ์เอเชียนเกมส์ (The Asian Games Federation; AGF) ตั้งแต่การแข่งขัน ครั้งแรกถึงครั้งที่ 8 และตั้งแต่เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 9 เป็นต้นมา บริหารจัดการแข่งขันโดยสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia; OCA) ภายใต้การรับรองโดย คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee; IOC) และยังถือ ได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากกีฬาโอลิมปิกด้วย


ในประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์ มีชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันแล้ว 9 ประเทศ โดยมี 46 ประเทศเข้าร่วม ยกเว้นอิสราเอล ซึ่งถูกกีดกันออกจากเอเชียนเกมส์หลังจากที่เข้าร่วมเป็นคราวสุดท้ายในครั้งที่ 7 โดยเอเชียนเกมส์ครั้งหลังสุด จัดขึ้นที่นครกว่าง โจว ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 12-27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) และการแข่งขันครั้งต่อไป จะจัดขึ้นที่ นครอินชอนของเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 19 กันยายน-4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014)


รายชื่อการแข่งขัน
กรุงเทพมหานครของประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันมากที่สุดถึง 4 ครั้ง (2509, 2513, 2521, 2541) ตามด้วย สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) 3 ครั้ง ในกรุงโซล (2529) นครปูซาน (2544) และนครอินชอน (2557) ส่วนประเทศที่เป็นเจ้าภาพมา แล้วชาติละสองครั้งประกอบด้วยสาธารณรัฐประชาชนจีน (กรุงปักกิ่ง 2533, นครกว่างโจว 2553) กรุงนิวเดลีของสาธารณรัฐ อินเดีย (2494, 2525) และประเทศญี่ปุ่น (กรุงโตเกียว 2501, นครฮิโรชิมา 2537) โดยกรุงมะนิลาของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (2497) กรุงจาการ์ตาของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (2505) กรุงเตหะรานของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (2517) และกรุงโดฮาของรัฐกาตาร์ (2549) ต่างเป็นเจ้าภาพมาแล้วเมืองละหนึ่งครั้ง


ลำดับต่อมาคือ มหกรรมกีฬา ซีเกมส์

ซีเกมส์ (อังกฤษSouth-East Asian Games; ชื่อย่อ: SEA Games) เป็นการแข่งขันมหกรรมกีฬาระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการจัดแบบปีเว้นปี ดำเนินการแข่งขันโดยสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asian Games Federation; SEAGF) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย

ซีเกมส์เป็น 1 ใน 5 กีฬาภูมิภาคของโอซีเอ โดยอีก 4 ภูมิภาคคือ กีฬาภูมิภาคเอเชียกลางกีฬาภูมิภาคเอเชียใต้กีฬาภูมิภาคเอเชียตะวันตกและกีฬาเยาวชนเอเชียตะวันออก

มหกรรมกีฬาที่นักกีฬาจากโซนเอเซีย รวมทั้งประเทศไทย  ที่มีสิทธิ์ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันหลักๆ คือ 3 รายการข้างต้น และยังมีการจัดการแข่งขันในระดับนานาชาติอีกมากมายหลายรายการ ทั้งที่แข่งแบบรวมหลายชนิดกีฬา และแยกแข่งขันเฉพาะชนิดกีฬา อาทิ สนุ๊กเกอร์ , กล็อฟ , เทนนิส , แบดมินตัน , ฟุตบอล , มวยสากล ฯลฯ 


นักกีฬาของประเทศไทย ที่เป็นตัวแทนของประเทศไปแข่งขัน ทุกชนิดกีฬาทั่วโลก นับกันไม่ถูกเลยว่า นักกีฬาของประเทศไทยมีความสามารถ เก่งกาจ จนคว้าแชมป์ คว้าเหรียญรางวัล  สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยกันมาอย่างมากมาย และที่สำคัญ นักกีฬาได้ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ประกาศให้ชาวโลกได้รู้จัก ประเทศไทย Thailand


จนนำมาต่อยอด ดึงดูดผู้คนและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มาท่องเที่ยวในประเทศไทย และลบภาพลักษณ์ที่ไม่ดี ออกจากความรู้สึกของผู้คนที่ได้มาเยือน 


ทั้งหมดเป็นประโยชน์ที่เกิดจาก นักกีฬาไทย ทุกชนิดกีฬา ที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติ   แต่หากจะเปรียบเทียบ นักกีฬาไทยกับนักกีฬาต่างประเทศ ที่ประสบความสำเร็จ ในแต่ละชนิดกีฬา  ตลอดระยะเวลา 40-50 ปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่า  ในช่วงบั้นปลายของชีวิตของนักกีฬาไทยที่สร้างชื่อในอดีต กลับไม่มีความเสถียรภาพในการดำรงชีพ รวมทั้งการยกย่อง เชิดชู สรรเสริญ กับความสำเร็จที่เคยมี ก็เลือนหายไปตามกาลเวลา 


ความสำคัญของ นักกีฬาไทย สำคัญไฉน!?!จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา ที่ได้เริ่มต้นขึ้น และมีบทบาทที่จะให้ความสำคัญของนักกีฬาไทย ทุกชนิด ทุกประเภทกีฬา ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ  ที่จะช่วยส่งเสริม สนับสนุน พร้อมทั้งทำเรื่องราวดีๆ ในการยกย่อง เชิดชู และสร้างเสถียรภาพให้กับนักกีฬาไทย 


สนุ้กเกอร์ เป็นจุดเริ่มต้นของกีฬาชนิดแรก ที่ทาง มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ   ในเดือน เมษายน 2565 ได้ให้การสนับสนุน 2 นักสนุ้กเกอร์อาชีพไทย ที่ยังแข่งขันใน World Ranking Tour 2022/2023 และ 2023/2024 คือ นพพล แสงคำ หรือ หมู ปากน้ำ และ เทพไชยา อุ่นหนู หรือ เอฟ นครนายก  โดยทาง มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา ได้มอบเงินสนับสนุนให้กับ 2 โปรไทย เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการฝึกซ้อม เป็นรายเดือนๆ ละ 50,000 บาท/คน เป็นระยะเวลา 1 ปี 


และล่าสุดเมื่อวานนี้ (26 พฤษภาคม 2565)

มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา 

โดยตัวแทนของมูลนิธิ รศ. ดร.วีระเชษฐ์ ขันเงิน  รองประธานมูลนิธิฯ นายภานพ ใจเกื้อรองเลขานุการมูลนิธิฯ พันตรีบรรจง เนติสารยาภากร กรรมการมูลนิธิฯ ได้มอบกระเช้าให้การต้อนรับดิไอดอลต๋อง ศิษย์ฉ่อย,เต่า มาสเตอร์และ ผจก ทีมชาติไทย นายไชยพงศ์ กวรสุรมย์ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย จากผลงานคว้าเหรียญทอง 1 เหรียญและเหรียญทองแดง8 เหรียญ ของทัพนักกีฬา Cuesport  จากมหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่31 จากกรุงฮานอย ประเทศเวียตนาม                    


รศ.ดร.วีระเชษฐ์ ขันเงิน.รองประธานมูลนิธิฯและนายภานพ ใจเกื้อ รองเลขานุการมูลนิธิฯได้เป็นตัวแทนของ มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา ได้มอบเสื้อของมูลนิธิฯ  และแต่งตั้งให้ นายวัฒนา ภู่โอบอ้อม(ต๋อง ศิษย์ฉ่อย)หรือ

James Wattana ให้เป็นแบรนด์แอมบาส    เดอร์ ให้กับมูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา โดย นายวัฒนา ภู่โอบอ้อม(ต๋อง ศิษย์ฉ่อย)ในฐานะของนักกีฬาแห่งชาติคนแรก ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติมาตลอดระยะเวลา 30 กว่าปี รวมทั้งการคว้าเหรียญทองล่าสุด  อีกทั้งมีความสม่ำเสมอ ทั้งในหน้าที่ของความเป็นนักกีฬา และบุคคลที่ทำประโยชน์ต่อสังคมมาโดยตลอด      ซึ่งในโอกาสนี้ วัฒนา ภู่โอบอ้อม(ต๋อง ศิษย์ฉ่อย) จะเป็นนักกีฬาคนแรกของประเทศไทยที่ได้รับการยกย่องให้เป็น นักกีฬาผู้ทรงคุณค่า ของประเทศไทยและเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์คนแรก ของมูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา


ซึ่งในโอกาสต่อไปทาง มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา  ก็จะคัดสรร นักกีฬาของประเทศไทยเพิ่มเติม ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณา  เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนและนักกีฬาทุกชนิดกีฬา  ได้มีต้นแบบที่ดีที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จ และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติสืบต่อไป 


                  

                  🙏สนับสนุนโพสต์โดย🙏 

#การกีฬาแห่งประเทศไทย 

#การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

#AmazingThailand

#TATSookerClubกีฬาและสันทนาการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

#DrAirเครื่องบำบัดอากาศสำหรับคุณ

#LamaiJazzBarAndBristoขอนแก่น

#BAACศูนย์การแพทย์ชะลอวัยและความงาม

#NicheCuesChantaburi

#มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา

#Usnooker

#Usports


กดติดตามเพจใหม่ของ Tong Snooker club

เปิดเพจใหม่เป็น Tong Snooker club #2

 (เพจสำรองสำหรับแฟนคลับทุกคนนะครับ)