วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

นักกีฬา .. สำคัญไฉน

นักกีฬา ... สำคัญไฉน!?!

นักกีฬา ก็คือบุคคลทั่วไปที่มีความสามารถพิเศษ ในการเล่น "กีฬา" ชนิดต่างๆ ตามแต่
ภูมิลำเนา หรือประเทศที่บุคคลนั้นๆ อาศัยอยู่   และด้วยความสามารถพิเศษนั้น ทำให้
อารยประเทศทั่วโลก  จัดให้มีการแข่งขัน
กีฬาต่างๆ มากมาย เพื่อจุดประสงค์หลัก คือ
การเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีที่ดีระหว่างประเทศ
และให้ผู้คนได้อยู่ห่างไกลจากสิ่งที่เป็นอบายมุขทั้งหลาย อาทิ ยาเสพติด,การพนัน

มาดูมหกรรมกีฬาสำคัญๆ ที่มีในโลกของเรา
กัน เริ่มที่สุดยอดของมหกรรมกีฬา นั่นก็คือ
กีฬาโอลิมปิกเกมส์ (อังกฤษOlympic Gamesฝรั่งเศสles Jeux olympiques, JO) หรือกีฬาโอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่ (อังกฤษModern Olympic Games) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศที่สำคัญ มีทั้งกีฬาฤดูร้อนและฤดูหนาว โดยมีนักกีฬากว่าพันคนเข้าร่วมการแข่งขันในหลายชนิดกีฬา กีฬาโอลิมปิกถูกมองว่าเป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญที่สุดของโลก โดยมีประเทศเข้าร่วมแข่งขันกว่า 200 ประเทศ ปัจจุบัน กีฬาโอลิมปิกจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี โดยผลัดกันระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อนกับโอลิมปิกฤดูหนาวห่างกันทุก 2 ปี

การสร้างสรรค์กีฬาโอลิมปิกได้รับแรงบันดาลใจจากกีฬาโอลิมปิคโบราณ (กรีก)  ที่เคยจัดขึ้นในโอลิมเปีย กรีซ จากในระหว่างศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดย บารอน ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ใน พ.ศ. 2437 จนนำไปสู่การจัดโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2439 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ นับแต่นั้นมาไอโอซีกลายเป็นองค์การที่ดูแลกระบวนการโอลิมปิก (Olympic Movement) โดยมีกฎบัตรโอลิมปิกนิยามโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ


วิวัฒนาการของกระบวนการโอลิมปิกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 และ 21 ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อกีฬาโอลิมปิกหลายประการ การปรับแก้บางอย่างรวมไปถึง การริเริ่มโอลิมปิกฤดูหนาวเพื่อแข่งขันกีฬาน้ำแข็งและฤดูหนาว กีฬาพาราลิมปิกเพื่อนักกีฬาที่มีความพิการทางร่างกาย และกีฬาโอลิมปิกเยาวชนเพื่อนักกีฬาวัยรุ่น ไอโอซีได้ปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 20 ตามความจริง ผลคือ กีฬาโอลิมปิกได้ขยับจากลักษณะมือสมัครเล่นบริสุทธิ์ (pure amateurism) ตามแนวคิดของกูแบร์แต็ง เพื่อให้นักกีฬาอาชีพร่วมการแข่งขันได้ ความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของสื่อมวลชนได้ก่อให้เกิดปัญหาการอุปถัมภ์โดยบริษัทและการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากกีฬาโอลิมปิก สงครามโลกนำไปสู่การยกเลิกโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2459, 2483 และ 2487 มีการคว่ำบาตรครั้งใหญ่ระหว่างสงครามเย็น ซึ่งจำกัดการเข้าร่วมในโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2523 และ 2527


กระบวนการโอลิมปิกประกอบด้วยสหพันธ์กีฬาระหว่างประเทศ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ และคณะกรรมการจัดการแข่งขันของกีฬาโอลิมปิกแต่ละครั้ง เมืองเจ้าภาพเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการแข่งขันและการจัดหาเงินทุนเพื่อสมโภช (celebrate) กีฬาตามกฎบัตรโอลิมปิก โปรแกรมโอลิมปิก ซึ่งประกอบด้วยกีฬาที่จะมีการแข่งขันในโอลิมปิก ถูกกำหนดโดยไอโอซีเช่นกัน การสมโภชกีฬาโอลิมปิกหมายรวมพิธีการและสัญลักษณ์จำนวนมาก อาทิ ธงและคบเพลิงโอลิมปิก ตลอดจนพิธีเปิดและปิด มีนักกีฬากว่า 13,000 คนเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนและฤดูหนาวใน 33 ชนิดกีฬา เกือบ 400 รายการ ผู้ที่ชนะเลิศเป็นอันดับหนึ่ง สองและสามในแต่ละรายการจะได้รับเหรียญโอลิมปิก ทอง เงินและทองแดง ตามลำดับ


การสร้างสรรค์กีฬาโอลิมปิกได้รับแรงบันดาลใจจากกีฬาโอลิมปิกโบราณ (กรีกὈλυμπιακοί Ἀγῶνες) ที่เคยจัดขึ้นในโอลิมเปีย กรีซ จากในระหว่างศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดย บารอน ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ใน พ.ศ. 2437 จนนำไปสู่การจัดโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2439 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ นับแต่นั้นมาไอโอซีกลายเป็นองค์การที่ดูแลกระบวนการโอลิมปิก (Olympic Movement) โดยมีกฎบัตรโอลิมปิกนิยามโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ

วิวัฒนาการของกระบวนการโอลิมปิกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 และ 21 ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อกีฬาโอลิมปิกหลายประการ การปรับแก้บางอย่างรวมไปถึง การริเริ่มโอลิมปิกฤดูหนาวเพื่อแข่งขันกีฬาน้ำแข็งและฤดูหนาว กีฬาพาราลิมปิกเพื่อนักกีฬาที่มีความพิการทางร่างกาย และกีฬาโอลิมปิกเยาวชนเพื่อนักกีฬาวัยรุ่น ไอโอซีได้ปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 20 ตามความจริง ผลคือ กีฬาโอลิมปิกได้ขยับจากลักษณะมือสมัครเล่นบริสุทธิ์ (pure amateurism) ตามแนวคิดของกูแบร์แต็ง เพื่อให้นักกีฬาอาชีพร่วมการแข่งขันได้ ความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของสื่อมวลชนได้ก่อให้เกิดปัญหาการอุปถัมภ์โดยบริษัทและการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากกีฬาโอลิมปิก สงครามโลกนำไปสู่การยกเลิกโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2459, 2483 และ 2487 มีการคว่ำบาตรครั้งใหญ่ระหว่างสงครามเย็น ซึ่งจำกัดการเข้าร่วมในโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2523 และ 2527


กระบวนการโอลิมปิกประกอบด้วยสหพันธ์กีฬาระหว่างประเทศ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ และคณะกรรมการจัดการแข่งขันของกีฬาโอลิมปิกแต่ละครั้ง เมืองเจ้าภาพเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการแข่งขันและการจัดหาเงินทุนเพื่อสมโภช (celebrate) กีฬาตามกฎบัตรโอลิมปิก โปรแกรมโอลิมปิก ซึ่งประกอบด้วยกีฬาที่จะมีการแข่งขันในโอลิมปิก ถูกกำหนดโดยไอโอซีเช่นกัน การสมโภชกีฬาโอลิมปิกหมายรวมพิธีการและสัญลักษณ์จำนวนมาก อาทิ ธงและคบเพลิงโอลิมปิก ตลอดจนพิธีเปิดและปิด มีนักกีฬากว่า 13,000 คนเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนและฤดูหนาวใน 33 ชนิดกีฬา เกือบ 400 รายการ ผู้ที่ชนะเลิศเป็นอันดับหนึ่ง สองและสามในแต่ละรายการจะได้รับเหรียญโอลิมปิก ทอง เงินและทองแดง ตามลำดับ


ต่อมาเป็นมหกรรมกีฬา เอเชี่ยนเกมส์ 

กีฬาเอเชียนเกมส์ (อังกฤษ: Asian Games; ชื่อย่อ: Asiad) เป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิดระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย ซึ่ง มีการจัดขึ้นในทุกสี่ปี เริ่มกำหนดการแข่งขันโดย สหพันธ์เอเชียนเกมส์ (The Asian Games Federation; AGF) ตั้งแต่การแข่งขัน ครั้งแรกถึงครั้งที่ 8 และตั้งแต่เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 9 เป็นต้นมา บริหารจัดการแข่งขันโดยสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia; OCA) ภายใต้การรับรองโดย คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee; IOC) และยังถือ ได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากกีฬาโอลิมปิกด้วย


ในประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์ มีชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันแล้ว 9 ประเทศ โดยมี 46 ประเทศเข้าร่วม ยกเว้นอิสราเอล ซึ่งถูกกีดกันออกจากเอเชียนเกมส์หลังจากที่เข้าร่วมเป็นคราวสุดท้ายในครั้งที่ 7 โดยเอเชียนเกมส์ครั้งหลังสุด จัดขึ้นที่นครกว่าง โจว ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 12-27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) และการแข่งขันครั้งต่อไป จะจัดขึ้นที่ นครอินชอนของเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 19 กันยายน-4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014)


รายชื่อการแข่งขัน
กรุงเทพมหานครของประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันมากที่สุดถึง 4 ครั้ง (2509, 2513, 2521, 2541) ตามด้วย สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) 3 ครั้ง ในกรุงโซล (2529) นครปูซาน (2544) และนครอินชอน (2557) ส่วนประเทศที่เป็นเจ้าภาพมา แล้วชาติละสองครั้งประกอบด้วยสาธารณรัฐประชาชนจีน (กรุงปักกิ่ง 2533, นครกว่างโจว 2553) กรุงนิวเดลีของสาธารณรัฐ อินเดีย (2494, 2525) และประเทศญี่ปุ่น (กรุงโตเกียว 2501, นครฮิโรชิมา 2537) โดยกรุงมะนิลาของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (2497) กรุงจาการ์ตาของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (2505) กรุงเตหะรานของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (2517) และกรุงโดฮาของรัฐกาตาร์ (2549) ต่างเป็นเจ้าภาพมาแล้วเมืองละหนึ่งครั้ง


ลำดับต่อมาคือ มหกรรมกีฬา ซีเกมส์

ซีเกมส์ (อังกฤษSouth-East Asian Games; ชื่อย่อ: SEA Games) เป็นการแข่งขันมหกรรมกีฬาระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการจัดแบบปีเว้นปี ดำเนินการแข่งขันโดยสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asian Games Federation; SEAGF) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย

ซีเกมส์เป็น 1 ใน 5 กีฬาภูมิภาคของโอซีเอ โดยอีก 4 ภูมิภาคคือ กีฬาภูมิภาคเอเชียกลางกีฬาภูมิภาคเอเชียใต้กีฬาภูมิภาคเอเชียตะวันตกและกีฬาเยาวชนเอเชียตะวันออก

มหกรรมกีฬาที่นักกีฬาจากโซนเอเซีย รวมทั้งประเทศไทย  ที่มีสิทธิ์ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันหลักๆ คือ 3 รายการข้างต้น และยังมีการจัดการแข่งขันในระดับนานาชาติอีกมากมายหลายรายการ ทั้งที่แข่งแบบรวมหลายชนิดกีฬา และแยกแข่งขันเฉพาะชนิดกีฬา อาทิ สนุ๊กเกอร์ , กล็อฟ , เทนนิส , แบดมินตัน , ฟุตบอล , มวยสากล ฯลฯ 


นักกีฬาของประเทศไทย ที่เป็นตัวแทนของประเทศไปแข่งขัน ทุกชนิดกีฬาทั่วโลก นับกันไม่ถูกเลยว่า นักกีฬาของประเทศไทยมีความสามารถ เก่งกาจ จนคว้าแชมป์ คว้าเหรียญรางวัล  สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยกันมาอย่างมากมาย และที่สำคัญ นักกีฬาได้ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ประกาศให้ชาวโลกได้รู้จัก ประเทศไทย Thailand


จนนำมาต่อยอด ดึงดูดผู้คนและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มาท่องเที่ยวในประเทศไทย และลบภาพลักษณ์ที่ไม่ดี ออกจากความรู้สึกของผู้คนที่ได้มาเยือน 


ทั้งหมดเป็นประโยชน์ที่เกิดจาก นักกีฬาไทย ทุกชนิดกีฬา ที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติ   แต่หากจะเปรียบเทียบ นักกีฬาไทยกับนักกีฬาต่างประเทศ ที่ประสบความสำเร็จ ในแต่ละชนิดกีฬา  ตลอดระยะเวลา 40-50 ปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่า  ในช่วงบั้นปลายของชีวิตของนักกีฬาไทยที่สร้างชื่อในอดีต กลับไม่มีความเสถียรภาพในการดำรงชีพ รวมทั้งการยกย่อง เชิดชู สรรเสริญ กับความสำเร็จที่เคยมี ก็เลือนหายไปตามกาลเวลา 


ความสำคัญของ นักกีฬาไทย สำคัญไฉน!?!จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา ที่ได้เริ่มต้นขึ้น และมีบทบาทที่จะให้ความสำคัญของนักกีฬาไทย ทุกชนิด ทุกประเภทกีฬา ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ  ที่จะช่วยส่งเสริม สนับสนุน พร้อมทั้งทำเรื่องราวดีๆ ในการยกย่อง เชิดชู และสร้างเสถียรภาพให้กับนักกีฬาไทย 


สนุ้กเกอร์ เป็นจุดเริ่มต้นของกีฬาชนิดแรก ที่ทาง มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ   ในเดือน เมษายน 2565 ได้ให้การสนับสนุน 2 นักสนุ้กเกอร์อาชีพไทย ที่ยังแข่งขันใน World Ranking Tour 2022/2023 และ 2023/2024 คือ นพพล แสงคำ หรือ หมู ปากน้ำ และ เทพไชยา อุ่นหนู หรือ เอฟ นครนายก  โดยทาง มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา ได้มอบเงินสนับสนุนให้กับ 2 โปรไทย เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการฝึกซ้อม เป็นรายเดือนๆ ละ 50,000 บาท/คน เป็นระยะเวลา 1 ปี 


และล่าสุดเมื่อวานนี้ (26 พฤษภาคม 2565)

มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา 

โดยตัวแทนของมูลนิธิ รศ. ดร.วีระเชษฐ์ ขันเงิน  รองประธานมูลนิธิฯ นายภานพ ใจเกื้อรองเลขานุการมูลนิธิฯ พันตรีบรรจง เนติสารยาภากร กรรมการมูลนิธิฯ ได้มอบกระเช้าให้การต้อนรับดิไอดอลต๋อง ศิษย์ฉ่อย,เต่า มาสเตอร์และ ผจก ทีมชาติไทย นายไชยพงศ์ กวรสุรมย์ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย จากผลงานคว้าเหรียญทอง 1 เหรียญและเหรียญทองแดง8 เหรียญ ของทัพนักกีฬา Cuesport  จากมหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่31 จากกรุงฮานอย ประเทศเวียตนาม                    


รศ.ดร.วีระเชษฐ์ ขันเงิน.รองประธานมูลนิธิฯและนายภานพ ใจเกื้อ รองเลขานุการมูลนิธิฯได้เป็นตัวแทนของ มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา ได้มอบเสื้อของมูลนิธิฯ  และแต่งตั้งให้ นายวัฒนา ภู่โอบอ้อม(ต๋อง ศิษย์ฉ่อย)หรือ

James Wattana ให้เป็นแบรนด์แอมบาส    เดอร์ ให้กับมูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา โดย นายวัฒนา ภู่โอบอ้อม(ต๋อง ศิษย์ฉ่อย)ในฐานะของนักกีฬาแห่งชาติคนแรก ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติมาตลอดระยะเวลา 30 กว่าปี รวมทั้งการคว้าเหรียญทองล่าสุด  อีกทั้งมีความสม่ำเสมอ ทั้งในหน้าที่ของความเป็นนักกีฬา และบุคคลที่ทำประโยชน์ต่อสังคมมาโดยตลอด      ซึ่งในโอกาสนี้ วัฒนา ภู่โอบอ้อม(ต๋อง ศิษย์ฉ่อย) จะเป็นนักกีฬาคนแรกของประเทศไทยที่ได้รับการยกย่องให้เป็น นักกีฬาผู้ทรงคุณค่า ของประเทศไทยและเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์คนแรก ของมูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา


ซึ่งในโอกาสต่อไปทาง มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา  ก็จะคัดสรร นักกีฬาของประเทศไทยเพิ่มเติม ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณา  เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนและนักกีฬาทุกชนิดกีฬา  ได้มีต้นแบบที่ดีที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จ และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติสืบต่อไป 


                  

                  🙏สนับสนุนโพสต์โดย🙏 

#การกีฬาแห่งประเทศไทย 

#การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

#AmazingThailand

#TATSookerClubกีฬาและสันทนาการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

#DrAirเครื่องบำบัดอากาศสำหรับคุณ

#LamaiJazzBarAndBristoขอนแก่น

#BAACศูนย์การแพทย์ชะลอวัยและความงาม

#NicheCuesChantaburi

#มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา

#Usnooker

#Usports


กดติดตามเพจใหม่ของ Tong Snooker club

เปิดเพจใหม่เป็น Tong Snooker club #2

 (เพจสำรองสำหรับแฟนคลับทุกคนนะครับ)





























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น